กติกาการแข่งขันทั่วไป

กติกาการแข่งขันทั่วไป

 

๑. เมื่อเริ่มการแข่งขัน ต้องเสี่ยงทายผู้ที่จะเดินก่อน โดยมักใช้เบี้ยในกระดาน แล้วกำไว้ในมือของกรรมการ ให้ผู้เล่น ทั้งสองทายจำนวนหมากเป็น คู่หรือคี่ ผู้ทายถูกจะเป็นฝ่ายเดินก่อน

การทายหมากในมือ ผุ้เริ่มเดินก่อนย่อมได้เปรียบในการวางแผนหมาก ที่ผู้เล่นตาม ต้องเดินตามแนวหมาก ของฝ่ายเดิน ก่อนอย่างเลี่ยงไม่ได้ และมักเป็นฝ่ายตั้งรับ และเสียเปรียบตลอดเวลา ต้องใช้ฝีมือเพื่อพลิกเกมส์ มากกว่าอีกฝ่าย ในช่วงต้นกระดาน

๒. กรรมการจับเวลาในการเดินหมากแต่ละครั้ง เพียง ๒ นาที เป็นหน้าที่ของกรรมการที่ต้องทำการเตือน ผู้ที่กำลังอยู่ ในระหว่างแข่งขัน ให้เดินหมากตามเวลาที่กำหนด มิฉะนั้น กรรมการอาจจับเป็นฝ่ายแพ้ได้

๓. เมื่อเกิดการได้เปรียบ และ เสียเปรียบ ฝ่ายเสียเปรียบขอนับศักดิ์กระดาน หรือเมื่อเบี้ยของทั้งสองฝ่ายหงาย จนหมด แล้ว จึงนับศักหมากได้ โดยกรรมการจะทำหน้าที่เป็นผู้นับศักดิ์

๔. การแข่งจะแพ้ หรือ ชนะ ต้องแล้วแต่กติกาที่ตั้งไว้ อาจเป็นตัดสินใน กระดานเดียว หรือ สองกระดานก็ได้ คือ หากเป็นตัดสินแบบกระดานเดียว ฝ่ายใดชนะ ก็ถือว่าชนะทันที
หากเป็นแบบสองกระดาน ถือว่า ผู้ชนะกระดานแรกได้เปรียบ
– ถ้ากระดานที่สอง เสมอกัน ผู้ชนะเมื่อกระดานแรกก็เป็นผู้ชนะทันที
– ถ้ากระดานสอง ฝ่ายที่แพ้เมื่อกระดานแรกเป็นฝ่ายชนะ จะเป็นชนะ ๑ ต่อ ๑ ต้องดูผลกระดานที่สาม
— ฝ่ายใดชนะในกระดานที่สาม ก็ถือเป็นผู้ชนะทันที
— หากกระดานที่สามเสมอ ให้แข่งกระดานต่อไป จนกว่าจะมีฝ่ายใดชนะ ก็นับเป็นชนะทันที

หากการแข่งขันในกระดานแรก และกระดานที่สองเสมอกัน ให้แข่งกระดานต่อไปจนมีผู้ชนะ ให้ถือว่าชนะทันที

๕. ในการแข่งขัน จะไม่มีการใช้ สูตรเม็ด เด็ดขาด หมายถึง การให้เม็ดเดินขึ้นในแนวตรงคืบหน้าในครั้งแรก ได้ ๒ ตา ซึ่งก็คือ ต้องเดินเม็ดแบบเฉียงตามแบบฉบับเดิมของเม็ดเอง ซึ่งต้องเสียเวลาเดินทางถึงสองครั้ง ในการร่นเวลา แต่ใน การแข่งขันถือว่า ทุกคนต้องแสดงฝีมือของตนอย่างเต็มที่ จึงไม่สมควรใช้สูตรเม็ด ที่มักใช้กันตามที่ต่าง ๆ โดยปกติ
( ความเป็นจริง ผู้มีฝีมือจริง มักไม่ยอมลดตัวมาใช้สูตรเม็ดเช่นกัน )

๖. หากมีการเลิกราลงกลางกระดานโดยฝ่ายใดยอมแพ้ กรรมการมีหน้าที่ต้องแจ้งทางเลขานุการ การแข่งขัน ทราบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชนะเข้ารอบต่อไป เพื่อนัดหมายการแข่งขันในครั้งต่อ ๆ ไปจนจบเส้นทาง

๗. เมื่อผู้เล่นแตะต้องตัวหมากตัวใดแล้ว จะต้องเดินหมากตัวนั้น จะเปลี่ยนเดินหมากอื่นไม่ได้เป็นอันขาด เพราะจะมีการ ได้เปรียบเสียเปรียบ อีกฝ่ายเห็นจับตัว แล้วเป็นผู้เดินไว จะขยับตัวเดินต่อ ฝ่ายที่กำลังจะเดิน จะรู้แต้มคูตาที่สำคัญของ ฝ่ายตรงข้ามได้ทันที มักจะเป็นลูกเล่นการล่อหลอกที่ไม่สมควร จึงกำหนดเอาไว้ ให้เดินหมาก ตัวที่แตะต้องแล้วเท่านั้น

๘. ในการแข่งขัน เมื่อจับวางหมากตัวใดลงจนตัวหมากกระทบกับกระดาน ผู้วางจะไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่ง การวาง ของตัวหมากตัวนั้นได้อีก ต้องปล่อยเลยตามเลยเพราะถือว่าเดินไปแล้ว เว้นกรณีที่เดินผิดแบบหมาก เช่น เดินโคนแบบ ถอยหลังมาตรง ๆ เดินเรือข้ามแนวที่อยู่จริง หรือม้ากระโดดไกลเกินที่วิธีเดินหมากบังคับ

ข้อ ๗ และข้อ ๘ ภาษาหมากรุก เรียกว่า ” จับตัว วางตาย “ คือ แตะตัวไหน วางตรงไหน ห้ามยึกยักแก้ไข เป็น
” หมากชักว่าว “ ซึ่งเป็นที่ตำหนิของนักเล่นหมากรุกด้วยกัน ฝึกให้เป็นนิสัยจะสง่างามในการเล่น

 

ใส่ความเห็น