ทางเดินของม้า

การเริ่มต้นกระดาน ของหมากรุกไทย ทางเดินของม้า

 

การเริ่มต้นเดินของม้า มี ๓ ลักษณะ

๑. ม้าเทียมรถ

เป็นการเดินโดยกำหนดให้ม้าทั้งคู่มาอยู่เคียงกัน ที่ ม้าดำ-ข๘ ไป ง๗ และ ม้าดำ-ช๘ ไป จ๗ และ ม้าดำ-จ๗ อาจเดิน ต่อเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามที่ ค๖ เป็นการป้องกันการทิ่มของเม็ดขาวได้เป็นอย่างดี ถ้า ม้าดำ-จ๗ ขึ้นมา วางที่ ค๖ เรียกว่า ” ม้าถ่างแดก “

 

ม้าเทียมรถ

 


 

๒. ม้าผูก

เริ่มจากขึ้นด้วย ม้าดำ-ข๒ ไป ค๖ และ ม้าดำ-ช๘ ไป จ๗ เป็นการผูกประสานกันระหว่างม้าทั้งสอง การขึ้น เช่นนี้ ทำให้มีโอกาสทำการได้เต็มที่เมื่อได้ทาง เพราะ ม้าดำ-ค๖ อาจป้องกัน เบี้ยขาว-ก๓ ที่จะมา ก๕ ทำให้ เรือดำ-ก๘ เดินได้ไม่ถนัด ฝ่ายดำจะทำการไม่เต็มที่ เพราะต้องระวัง เบี้ยดำ-ก๖ หากม้าดำยืนแบบนี้ เบี้ยขาว- ข๓ จะขึ้นมาที่ ข๔ เพื่อสนับสนุน เบี้ยขาว-ก๕ ไม่ได้ เพราะอาจเสียเปรียบเมื่อทำลายกัน

 

ม้าผูก

 


 

๓. ม้าขโมย

เกิดขึ้นเมื่อ ม้าดำ-ข๘ ไป ง๗ , ฝ่าย เบี้ยขาว-จ๓ ไป จ๔ , เบี้ยดำ-ง๖ ไป ง๕ , เบี้ยขาว-ฉ๓ ไป ฉ๔ เมื่อเอา ม้าดำ ไปวางที่ ค๕ จะเข้า ๒ ลักษณะ คือ ม้าดำ กินสอง เบี้ยขาว-จ๔ หรือ กิน เบี้ยขาว-ข๓ แล้วคร่อมเรือ กับ โคนเอาไว้

ในกรณีเช่นนี้ส่วนใหญ่ ฝ่ายขาวจะเอา เบี้ยขาว-จ๔ กิน เบี้ยดำ-ง๕ แล้วกิน เบี้ยดำ-จ๖ ต่อ เพื่อเป็นเบี้ยหงาย แล้วขยับ เบี้ยขาว-ฉ๔ ไป ฉ๕ เพื่อผูกรักษากันไว้ ปล่อยให้ ม้าดำ-ค๕ กิน เบี้ยขาว-ข๓ แล้ว กิน เรือขาว-ก๑ ต่อไป จากนั้นฝ่ายขาวจึงเดิน โคนขาว-ค๑ ไป ข๒ ม้าดำก็หมดฤทธิ์ทันที

กระบวนนี้ หมากขาวจะได้เบี้ยหงายทดแทนการสูญเสียเรือ และเบี้ยหงายจะทำหน้าที่รับการบุก ของเรือ และ หมากอื่น ๆ ฝ่ายดำได้ เช่นกัน

 

ม้าขโมย

ใส่ความเห็น